dot dot
ฐาน Walk Rally เกมมองต่างมุม

ฐานกิจกรรม Walk Rally

www.วอล์คแรลลี่.com   ขอแนะนำ ฐานกิจกรรม Walk Rally แบบ ฐานลอย หรือฐานกิจกรรมแบบกึ่งถาวร เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ ให้ตรงกับความต้องการ สอดคล้องกับหลักสูตรต่างๆ   สามารถนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่สงวนลิขสิทธ์ แต่หากจะนำรูปภาพของเกม หรือ วิธีการเล่น ไปเผยแพร่ต่อ รบกวนโพสท์ให้เครดิตกับเว็บด้วย
การอธิบายรูปแบบ เกม ฐานกิจกรรมวอล์คแรลลี่ ขอใช้ภาษาง่ายๆ พื้นๆ บ้านๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ สนุก และสามารถสร้างจินตนาการ ให้เห็นถึงวิธีเล่น และ ความสนุกของฐานกิจกรรมวอล์คแรลลี่ ในแต่ละกิจกรรมได้อย่างง่ายดายขึ้นโดย อาจจะขออธิบายแบบคร่าวๆ เพราะเชื่อว่า ด้วยความเป็นมืออาชีพของอาจารย์วิทยากร หรือทีมงานจัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ หรือ ฝ่าย HR สามารถนำเกม หรือ รูปแบบเกม ไปเปลี่ยนแปลง หรือ ต่อยอด หรือ ดัดแปลง ปรับปรุง วิธีการเล่นเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้ร่วมอบรม ให้ตรงกับหลักสูตรหรือหัวข้อในการจัดกิจกรรมสัมมนา หรือ กิจกรรมวอล์คแรลลี่ ให้ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน
 
และหาก อาจารย์วิทยากร หรือ ทีมงานวอล์คแรลลี่ท่านใด ประสงค์จะแนะนำเกมวอล์คแรลลี่เกมอื่นๆเพื่อเป็นวิทยาทาน ก็แนะนำได้ และจะนำมาแจ้งเพิ่มเติมและให้รับทราบกันต่อไป
 
 
ฐาน Walk Rally : เกมมองต่างมุม
www.วอล์คแรลลี่.com
ฐานกิจกรรมวอล์คแรลลี่ : Walk Rally : เกมวอล์คแรลลี่
 
 
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย
ความสามัคคี การทำงานเป็นทีม การวางแผนอย่างเป็นระบบ การมองภาพรวมของปัญหา การระดมสมอง การแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
 
การให้คะแนน
ดูจากความสามารถของทีมในการแก้ไขปัญหา หากได้ผลลัพท์ตามต้องการ ก็ได้คะแนนตามที่วิทยากรกำหนดแนวทางการให้คะแนน
 
อุปกรณ์
ลูกเต๋า 3 ลูก หรือ 4 ลูก หรือ 5 ลูก ตามความยากง่าย ของกิจกรรม : ลูกเต๋า 3 ลูก อยู่ในระดับ ปานกลาง : ลูกเต่า 4 ลูก อยู่ในระดับ ยาก : ส่วนลูกเต๋า 5 ลูก นั้น ถือว่า ยากมาก
 
 
 
ฐานเกม มองต่างมุม นั้น เป็นกิจกรรมที่ เล่นง่าย อุปกรณ์น้อย แต่ได้ทักษะของการแก้ไขปัญหาหลายด้าน รวมทั้งความสามัคคี การระดมสมอง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ การดัดแปลงแก้ไขและทดลอง การปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำ จนกว่าจะได้ผลลัพท์ตามต้องการ รวมถึงการตรวจสอบ เช็คความถูกต้อง ซึ่งถือเป็นความละเอียดและความรอบคอบของการทำงานในแบบครบวงจร ซึ่งตรงกับหลักการของ วงจร PDCA อย่างแท้จริง
 
 
วงจร PDCA
P D C A  คือ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข
 
P  Plan การวางแผน
D Do การลงมือปฏิบัติ
C Check การตรวจสอบผลงาน
A Action การปรับปรุงแก้ไขสู่ความสำเร็จ
 
คลิ๊กเข้าชม วงจร PDCA
 
 
วิธีการ
วิธีการเล่น ง่ายมาก คือ การนำลูกเต๋า 3-5 ลูก มาตั้งเรียง ซ้อนกัน โดยลูกเต๋า จะมี 6 ด้าน ซึ่งเราจะมองเห็นถึงตัวเลขต่างๆ ได้จำนวน 5 ด้าน ยกเว้นด้านที่ติดพื้น ฉะนั้น ลูกเต๋าใน 1 ลูก จะมี มุมมองที่สามารถมองได้หลายมุม คือ มุมบน มุมซ้าย มุมขวา มุมด้านหน้า และ มุมด้านหลัง ตัวเลขต่างๆบนลูกเต๋า ตั้งแต่ 1-6 ก็จะแสดงอยู่ในลูกเต๋าตามมุมต่างๆที่พลิกไปมาและเมื่อ นำลูกเต๋า มาซ้อนกัน หรือ มาต่อกัน มุมมองก็จะเปลี่ยนไป ตัวเลขต่างๆที่นำมารวมกันก็จะเปลี่ยนไปได้หลากหลายรูปแบบ จึงเป็นที่มาของ เกม มองต่างมุม
 
วิทยากร
ด้วยความหลากหลายของตัวเลขที่แสดงในมุมต่างๆ ของลูกเต๋า ในรูปแบบที่ซ้อนกัน วิทยากร ควรจะถ่ายรูป เป็นรูปที่เก็บไว้สำหรับ คำตอบของโจทย์ข้อนั้นๆ โดยต้องถ่ายรูปทั้ง 5 มุม ให้เห็นในมุมต่างๆกัน ถ้าไม่ถ่ายรูปไว้ ตอนเฉลยจะเป็นเรื่องยากสำหรับวิทยากร
 
วิธีการดำเนินกิจกรรม
ขอเน้นย้ำว่า ความยากง่าย ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกเต๋า แต่ไม่ควรเกิน 5 ลูก เพราะหากใช้ลูกเต๋ามากเกินไป จะทำให้เสียเวลา และ วิธีการจะยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นไปอีก จนกลายเป็น แต่ละทีม ทำกันไม่ได้เลย จะทำให้สูญเสียหลักการของกิจกรรมไปเปล่าๆ  ในตัวอย่างกิจกรรมจึงขอใช้ลูกเต๋า เพียง 3 ลูก จะเห็นได้ชัดกว่า โดยทีมวิทยากร สามารถเพิ่มลูกเต๋าเข้าไปได้ตามความต้องการ จะเพิ่มด้านบน ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย ได้ทั้งหมด เพราะโจทย์ที่วิทยากรกำหนดให้นั้น ไม่ตายตัวอยู่แล้ว
 
 
ฐานเกม มองต่างมุม
 
www.วอล์คแรลลี่.comwww.วอล์คแรลลี่.com
www.วอล์คแรลลี่.comwww.วอล์คแรลลี่.com
 
ตามตัวอย่างขอใช้ 3 ลูก เมื่อ วิทยากร มอบลูกเต๋า ให้กับทีมกิจกรรมวอล์คแรลลี่ไปแล้ว พร้อมระบุโจทย์ ดังนี้
 
ให้ทีมกิจกรรมวอล์คแรลลี่ นำลูกเต๋า 3 ลูก ไปตั้งซ้อนกัน แบบไหนก็ได้ โดยให้มีมุมมองดังนี้ ครบทั้ง 5 มุม จึงจะผ่านและได้คะแนน
 
เมื่อมองลูกเต๋า จากด้านบน นับรวมกันแล้ว จะได้ 3 แต้ม
เมื่อมองลูกเต๋า จากด้านหน้า นับรวมกันแล้ว จะได้ 7 แต้ม
เมื่อมองลูกเต๋า จากด้านหลัง นับรวมกันแล้ว จะได้ 6 แต้ม
เมื่อมองลูกเต๋า จากด้านซ้าย นับรวมกันแล้ว จะได้ 9 แต้ม
เมื่อมองลูกเต๋า จากด้านขวา นับรวมกันแล้ว จะได้ 12 แต้ม
 
 
สามารถตั้งหรือกำหนดโจทย์ 2 ชุด ก็ได้ คือ เล่น 2 ครั้ง ที่แตกต่างกัน
โดยใช้ลูกเต๋า 2 ชุด หรือ ให้วิทยากรดู เมื่อตั้งเรียงลูกเต๋าเสร็จ ทีละครั้งก็ได้
 
 
ซึ่งโจทย์ นั้น ทีมงานวิทยากรสามารถตั้งโจทย์เองได้ โดยวิธีลองตั้งซ้อนลูกเต๋า ไว้ก่อน แล้วจึง กำหนดออกไปเป็นโจทย์ พร้อมกับถ่ายรูป หรือ จะจดไว้ หรืออะไรก็ได้ที่วิทยากร ไม่งงเอง วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ถ่ายรูป นั่นแหละ
 
จากรูป และ จากโจทย์ ที่เห็น หากมีการเพิ่มลูกเต๋า เป็น 4 หรือ 5 ลูก ความยาก ก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยจะเพิ่มลูกเต๋าด้านใดก็ได้ แล้วจึงกำหนดออกไปเป็นโจทย์ให้ทีมกิจกรรมวอล์คแรลลี่ร่วมเล่นร่วมแก้ไข การลูกเต๋า จะซ้นกันแบบไหนก็ได้ จะซ้อนกันเป็นแถวตรงเลยก็ยังได้ แล้วแต่วิทยากรต้องความยากง่าย
 
 
จะเลือกตั้งโจทย์ ตั้งลูกเต๋า แบบไหนก็ได้ แล้วแต่ความยากง่ายของกิจกรรม
โดยทางทีมกิจกรรม Walk Rally ต้องไม่รู้ ไม่เห็น
 
 
ตัวแปร กรณี เมื่อ ลูกทีมกิจกรรมวอล์คแรลลี่ ตั้งลูกเต๋า ไป ตั้งลูกเต๋ามา แล้วออกมาได้เลขที่นับรวมกัน ตรงตามโจทย์ที่เราให้ไป แต่ตัวเลข หรือ วิธีเรียงซ้อน ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมองทั้ง 5 มุมแล้ว ได้เลขตามโจทย์ที่เราบอกไปเป๊ะๆ ครบทั้ง 5 มุม ซึ่งก็พอมีทางเป็นไปได้ ถือว่า ทีมกิจกรรมนั้น ทำได้ตามความต้องการของเรา และแก้ไขตามโจทย์ได้ เช่น
เราบอกไปว่า ด้านบน นับรวมกันให้ได้ 5 ซึ่งที่เรา เตรียมเฉลย หรือ จากรูปที่เราเก็บไว้คือ เลข 4 และ 1 แต่ ทีมกิจกรรมทำได้เป็น 3 และ 2 คือ รวมกันแล้วเป็น 5 เหมือนกัน ถือว่า ทำได้ แต่โอกาสน้อยมากที่จะเป็นไปตามคำตอบในโจทย์ ครบ ทั้ง 5 ด้าน
 
ไฮไลท์ คือ อย่างที่ทราบๆกันลูกเต๋า มี 6 ด้าน มีจำนวนเลขระบุทุกด้าน เมื่อนำมาตั้ง ซ้อนๆ รวมกัน ตัวเลขในแต่ละด้านก็จะเปลี่ยนไป ความยากคือ เมื่อลองซ้อนวิธีต่างๆแล้ว ลูกเต๋าด้านหน้าได้เลขที่ตรงกับโจทย์ แต่ด้านอื่นยังไม่ได้ ก็ต้องหมุนวนเปลี่ยนด้านไปจนกว่าจะได้ ตัวเลขรวมตามที่โจทย์ระบุทุกด้าน ทุกคนต้องช่วยกัน กับมุมมองทั้ง 5 มุม วางยังไงให้ได้ตามโจทย์ นั่นคือปัญหาที่ทีมกิจกรรมวอล์คแรลลี่ต้องแก้ไข ตรวจสอบ และกระทำโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมกันด้วย
 
ทีมวิทยากรสามารถดัดแปลง ปรับเปลี่ยน เพิ่มจำนวนลูกเต๋า และรูปแบบการเล่น รวมทั้งวิธีการให้คะแนนได้ตามต้องการ
 
 
www.วอล์คแรลลี่.com

 




ฐานกิจกรรมวอล์คแรลลี่ ฐานเกมวอล์คแรลลี่






Booking.com