กิจกรรม วอล์คแรลลี่ Walk Rally คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอนำบทความหรือหลักการและเหตุผลของหลักสูตรสัมมนาหรือกิจกรรมวอล์คแรลลี่ ของอาจารย์วิทยากรที่ชำนาญหลักสูตรดังกล่าว นำเสนอเพื่อการกำหนดเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้
การจัดทำ Balanced Scorecard
ระดับองค์กร (Corporated BSC) |
|
|
หลักสูตร
การจัดทำ Balanced Scorecard ระดับองค์กร (Corporated BSC) |
|
โดย |
อาจารย์ นายแพทย์นิวัฒน์ ลีวงศ์วัฒน์ |
|
|
|
เข้าชม ผลงาน ประวัติ อาจารย์ วิทยากร |
|
|
|
|
|
|
หลักการและเหตุผล |
|
การบริหารองค์กรในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ยากกว่าสมัยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม ด้วยสถานการณ์รอบด้านที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ดังนั้น องค์กรส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะใช้เครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ"การบริหารรเชิงยุทธศาสตร์หรือการบริหารเชิงกลยุทธ์" เพราะสามารถตอบโจทย์ด้านการบริหารได้อย่างครอบคลุมและยืดหยุ่น แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียวและเป็นปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งกับองค์กรในประเทศไทยและองค์กรทั่วโลก อาทิ...
1. กลยุทธ์ระดับต่างๆขององค์กรขาดความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
2. การรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรส่วนใหญ่ในประเด็น
กลยุทธ์ขององค์กรมีน้อยมาก
3. การจัดสรรทรัพยากรต่างๆขององค์กรไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์
4. ขาดการติดตามประเมินผลแผนกลยุทธ์ที่เป็นระบบ
ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ |
|
|
|
ดังนั้น Balanced Scorecard (ฺBSC) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยการศึกษาวิจัยของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์อยู่ที่ Harvard Business School(HBS) และได้ตีพิมพ์ในวารสารHarvard Business Review(HBR) ในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การวัดและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรมีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสื่อสารให้คนทั้งองค์กรมีความเข้าในกลยุทธ์ของบริษัทได้ดีอีกด้วย สุดท้ายมันยังช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรภายในองค์กรมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบัน Balanced Scorecard(ฺBSC)ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ไปแล้ว หากองค์กรใดมีการจัดทำแผนกลยุทธ์โดยที่ไม่มีการทำ Balanced Scorecard(ฺBSC) ด้วย ก็ต้องถือว่าแผนกลยุทธ์นั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์
สถาบันการพูดเพื่อความสำเร็จ(TalkToTop Training Institute) ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของ Balanced Scorecard(BSC)มานานแล้ว และตั้งแต่ปี พ.ศ.2544เป็นต้นมา เราได้ทำการศึกษาและได้นำมาทดลองใช้กับหน่วยงานต่างๆทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนที่เป็นแนวทางของ Kaplan & Norton รวมทั้งรูปแบบที่มีการประยุกต์แล้ว โดยเฉพาะรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน(กพร.) ทำให้เรามีประสบการณ์ในการถ่ายทอดและการนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานต่างๆอย่างกว้างขวาง ส่วนการเรียนการสอนในหลักสูตร"การจัดทำ Balanced Scorecard ระดับองค์กร (Corporated BSC)"ของสถาบันการพูดเพื่อความสำเร็จนั้น จะมุ่งเน้นเฉพาะความรู้และหลักการพื้นฐานสำคัญที่จำเป็น เน้นการนำไปปฏิบัติมากกว่าการเรียนเพื่อรู้ ด้วยประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์และการจัดทำBSCให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้วยบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สนุกสนาน เป็นกันเอง ได้ทั้งสาระและความบันเทิง พร้อมคำแนะนำที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ในทุกขั้นตอน |
|
|
วัตถุประสงค์ |
|
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้หลักการสำคัญและขั้นตอนที่เรียบง่ายในการจัดทำBalanced Scorecard(BSC) |
|
|
|
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการจัดทำBalanced Scorecard(BSC)แบบมีส่วนร่วม |
|
|
|
เพื่อให้หน่วยงานผู้จัด ได้Balanced Scorecard(BSC)ที่สามารถนำไปใช้งานได้(70-90%) หลังเสร็จสิ้นการสัมมนา |
|
|
|
|
เป้าหมาย |
|
ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ภายในองค์กร |
|
|
|
ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 - 3 วัน |
|
|
|