|
|
หลุมพรางของการพัฒนาคน ที่มีความเสี่ยง 29 ประการ |
|
|
โดย |
ดร.บัญญัติ บุญญา |
|
|
เข้าชม ผลงาน ประวัติ อาจารย์ วิทยากร |
|
|
|
|
|
การพัฒนาบุคลากร นับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของทุกองค์กร เพราะคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารองค์กรหรือการดำเนินธุรกิจ หากองค์กรใดปราศจาก การพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โอกาสที่องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จอาจมีไม่มากนัก ในทางกลับกันอาจส่งผลเสีย ให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว ทั้งในเรื่องการบริหารงานและการบริหารคน ซึ่งเรื่องนี้ HR. ต้องกล้าที่จะนำเสนอข้อมูลและผลกระทบที่ตามมาต่อการพัฒนาบุคลากรแบบสุกเอาเผากิน ให้ทีมผู้บริหารรับทราบถึง ความเสี่ยง 29 ประการ ของการพัฒนาบุคลากร โดยต้องไม่มีคำดังต่อไปนี้ |
|
|
1 |
ไม่มีวิสัยทัศน์และนโยบายเรื่องการพัฒนาคนอย่างเป็นรูปธรรม |
2 |
ไม่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องการพัฒนาคน |
3 |
ไม่มีการวางแผนกลยุทธ์เรื่องพัฒนาคนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง |
4 |
ไม่มีงบประมาณสนับสนุนหรือมีน้อยเกินไปจนไม่สามารถทำอะไรได้ |
5 |
ไม่มีผู้บริหารระดับสูงและทีมงานผู้บริหารที่ให้ความสนใจอย่างจริงจัง |
6 |
ไม่มีหน่วยงานในระดับแผนก/ฝ่ายพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง |
7 |
ไม่มีพนักงานในระดับบริหารที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาคนในโครงสร้าง |
8 |
ไม่มีพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถและความเข้าใจ เรื่องการพัฒนาคน |
9 |
ไม่มีสถานที่ ห้องฝึกอบรม สื่อการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการพัฒนาคน |
10 |
ไม่มีการสำรวจหาความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ |
11 |
ไม่รู้ปัญหาและความต้องการขององค์กร ผู้บริหารและพนักงานที่แท้จริง |
12 |
ไม่กำหนดเนื้อหาหลักสูตรและวัตถุประสงค์ให้เหมาะสมกับคนและธุรกิจ |
13 |
ไม่มีวิธีการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ ที่เอื้อต่อจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ |
14 |
ไม่มีการออกแบบทดสอบเพื่อวัดผลและติดตามผลการพัฒนาบุคลากร |
15 |
ไม่มีการประเมินผลและติดตามผลการพัฒนาบุคลากรให้ครอบคลุมทุกปัจจัย |
16 |
ม่มีการติดตามผลการพัฒนาบุคลากรในระยะยาว ที่ชัดเจนและเเป็นรูปธรรม |
17 |
ไม่มีการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาอย่างเนื่อง เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ |
18 |
ไม่มีการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับ พันธกิจและทิศทางขององค์กร |
19 |
ไม่มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ (พัฒนากันเองแบบตามมีตามเกิด) |
20 |
ไม่มีการพัฒนาวิทยากรภายในและใช้วิทยากรภายในที่ขาดความพร้อม |
21 |
ไม่มีการตรวจสอบประวัติและประสบการณ์ของวิทยากรภายนอกที่มาสอน |
22 |
ไม่มีการศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา |
23 |
ไม่มีความเป็นมืออาชีพให้คนเข้าเรียนมากที่สุดถ้าวิทยากรมาจากภายนอก |
24 |
ไม่มีการพัฒนาคนอย่างเป็นระบบ ประเภททำขาดๆ หายๆ ครึ่งๆ กลางๆ |
25 |
ไม่มีความเข้าในการพัฒนาคน มองหาหลักสูตรแบบเล็งผลเลิศ 1 วัน ได้ผล |
26 |
ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า เมื่อเจอปัญหามันหนักหนาสาหัสแล้วจึงเริ่มพัฒนา |
27 |
ไม่มีความสามารถในการพัฒนาคน เน้นปริมาณของหลักสูตรมากกว่าคุณภาพ |
28 |
ไม่มีความเป็นมืออาชีพ เน้นเชิญวิทยากรราคาถูกโดยไม่คิดถึงคุณภาพ |
29 |
ไม่มีการพัฒนาคนอย่างทั่วถึง ทำเฉพาะระดับปฏิบัติการโดยไม่พัฒนาผู้บริหาร |
|
|
บทสรุป |
การพัฒนาบุคลากรโดยปราศจากความเสี่ยง 29 ประการ จะต้องมีการดำเนินงานให้ครบถ้วนตามหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหากองค์กรได้ลองตรวจสอบดูก็จะพบว่ามีความเสี่ยงในข้อใดบ้าง หลังจากนั้น ให้รีบนำข้อมูลไปหารือกับผู้บริหาร เพื่อการวางแผนการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและปราศจากความเสี่ยงทั้งหมด องค์กรก็จะมีบุคลากรที่เพียบพร้อมทั้งในด้าน ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมที่เหมาะสม หรือมีขีดความสามารถ(Competency) ตรงตามความคาดหวังขององค์กรนั่นเอง ซึ่งในท้ายที่สุดคนในองค์กรก็จะทำงานได้อย่างมีความสุข ทุกคนสนุกกับการทำงาน |
|
|
ประเภทที่เรียกว่างานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข ผลผลิตก็เพิ่มขึ้น ลูกค้าพึงพอใจ กำไรไหลมาเทมา องค์กรก้าวหน้า ก้าวไกล ก็เพราะการพัฒนาบุคลากรที่ปราศจากความเสี่ยง 29 ประการ |
|
|