|
|
โค้ชผู้บริหาร และ โค้ชการขาย |
|
|
|
|
โดย |
อาจารย์ กมลภัทร บุญค้ำ |
|
|
|
เข้าชม ผลงาน ประวัติ อาจารย์ วิทยากร |
|
|
|
|
|
|
หลักการและเหตุผล |
|
แนวคิดเรื่อง "โค้ชสำหรับผู้บริหาร" ที่จริงก็ถือได้ว่ามีมานานแล้ว แต่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือถ้ามีการพยายามนำไปใช้ก็พบกับทางตันเสียเป็นส่วนใหญ่
|
|
|
1. การพยายามตั้งตำแหน่ง "โค้ชการขาย" / "เทรนเนอร์ประจำบริษัท
บริษัทที่พยายามทำเช่นนี้ซึ่งหลายรายทำไม่สำเร็จ เป็นเพราะอะไร
มาตามไปดูกันครับ สิ่งที่เกิดขึ้น |
|
|
ต้องการสุดยอดนักขาย สุดยอดผุ้บริหารมาเป็น "โค้ชการขาย" หรือ "เทรนเนอร์ประจำบริษัท" ซึ่งแน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ถ้าได้มาก็คงไม่สามารถจะทำงานประจำบริษัทได้เพราะค่าตัวในการอยู่โยงประจำบริษัทเพื่อสอนก็คงไม่ต่างจากค่าตัวในการจ้างมาเป็นผู้บริหารของบริษัทแน่นอน |
|
|
|
ไม่อยากรับพนักงานที่เป็นวิทยากรอาชีพ หรือนักขายอาชีพที่สอนได้มาเป็นโค้ช เพราะดูแล้วรู้สึกว่าจะไม่มีคุณวุฒิมากพอที่จะสอน |
|
|
|
|
ความเข้าใจที่ถูกต้อง |
|
การจะหาอดีตนักขายระดับซูเปอร์เซลล์ หรือ สุดยอดผู้บริหารมาเป็นโค้ชประจำบริษัทได้นั้น เป็นความคิดที่เก่าและใช้การไม่ได้เหมือนกับการพยายามหาสุดยอดพนักงานที่ทำงานด้วยเงินเดือนเท่าเดิม แต่ทำงานได้เท่ากับจำนวนชั่วโมงการทำงานของรองประธาน ประธาน หรือ CEO ของบริษัท |
|
|
|
ยิ่งหาผู้ที่มีประสบการณ์หรือความสามารถสูงมากๆ มาเป็นโค้ช พวกเขาก็จะทำงานให้กับบริษัทโดยอิงผลตอบแทนตามจำนวนชั่วโมง ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นที่ปรึกษา หรือวิทยากรมากกว่าที่จะเป็นโค้ชประจำ |
|
|
|
โดยสรุปคือ เลิกคิดหา โค้ชที่มีประสบการณ์ในการทำงานระดับเอกอุเพื่อให้เข้ามาเป็นพนักงานประจำเลยจะดีกว่า ใจเขาใจเราครับ อะไรที่เป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้ก็ลองคิดดูกันเอาเอง |
|
|
|
โค้ชไม่ใช่ ผู้จัดการ และผู้จัดการ ก็ไม่ใช่โค้ช โค้ชมืออาชีพ หากเข้าไปทำงานในบริษัท อาจเป็นที่รักของผู้รับการอบรมเช่นพนักงานขาย แต่เขาจะสามารถบอกให้พนักงานขายและผู้บริหารเข้าใจได้ว่า เขาเป็นครู เป็นคนให้กำลังใจ เป็นคนชี้แนะแนวทาง แต่เขาไม่ใช่คนที่จะช่วยแก้ปัญหา ปะทะกับลูกค้าหรือปะทะกับแผนกอื่น |
|
|
|
ผู้จัดการนั้นเหมือนพ่อ ส่วนโค้ชเป็นแค่ครู โค้ชจึงไม่ใช่คนที่ต้องเก่งกว่าผู้จัดการหรือเซลล์ทุกคนในบริษัทอย่างที่เข้าใจ |
|
|
|
|
|
|
2. ให้พนักงานรุ่นพี่ หรือผู้ที่เข้ามาก่อนหรือผู้บริหารเป็นโค้ชของแผนกตัวเอง
สิ่งที่เกิดขึ้น
|
|
หลักการ ให้พนักงาน / ผู้บริหาร เป็นพี่เลี้ยง นั้น รู้จักกันดีในระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ซึงส่วนใหญ่แล้วล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะพนักงานไม่อยากสอนให้คนใหม่มีความสามารถดีกว่าตัวเอง เพราะอยากที่จะมีโอกาสแย่งชิงตำแหน่งเมื่อมีการโปรโมต หรือไม่ก็ถ้าเป็นผู้บริหารที่เข้ามาใหม่แล้วให้พนักงานเป็นผู้แนะนำข้อมูลต่างๆ รับรองได้ว่าแทบจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลย เพราะพนักงานคนนั้นก็คิดว่าในเมื่อตัวเองสอนผู้จัดการใหม่ได้ ทำไมไม่ให้ตนเป็นผู้จัดการเสียเอง |
|
|
|
กระบวนการ On the job training หรือ การฝึกสอนในขณะทำงานส่วนใหญ่ จบลงที่การเป็น sink or swim approach หรือ ถ้าไม่ว่ายน้ำให้เป็นเอง ก็เชิญจมน้ำตายได้ พนักงานใหม่ที่มีแววรุ่งจึงอาจเจอกับพนักงานเก่าที่ทำงานไปวันๆ แต่เขี้ยวลากดิน และพวกเยอะเล่นงานจนต้องออกจากบริษัทไปในที่สุด |
|
|
|
|
ความเข้าใจที่ถูกต้อง |
|
ในโลกธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ก่อนที่จะมีวัฒนธรรมองค์กรแบบช่วยเหลือกันและกัน การจ้างพี่เลี้ยงหรือโค้ชจากภายนอกเป็นทางออกที่ดี่ที่สุด โดยเฉพาะท่ามกลางการแข่งขันที่เชี่ยวกรากในปัจจุบันนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คนในองค์กรจะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กันเอง เพราะสำนักงานนั้นเปรียบเสมือนเวทีแข่งขันของเกม กำจัดจุดอ่อน ไปเสียแล้ว |
|
|
|
โค้ชที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือผลักดันจะทำให้พนักงานเปิดใจพูดได้ดีกว่าผู้จัดการ หรือเพื่อนในสำนักงานเพราะ ในการพูดคุยกับคนอื่นในสำนักงานนั้น หลายครั้งพวกเขาก็เกิดอาการระแวงหรือกดดันในตัวเอง การจะเล่าให้นายฟังเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้น หากนายขาดความเป็นโค้ช พวกเขาก็จะโดนกดดันกลับมาด้วยถ้อยคำ เช่น "ปัญหาแค่นี้ ถ้าคุณแก้ไม่ได้ ผมจะจ้างคุณมาทำไม?" หรือ "ผมคาดหวังกับคุณไว้มาก คุณจะมาติดขัดกับปัญหาขี้ประติ๋วพรรค์นี้เหรอ" |
|
|
|
โค้ช เป็นแค่คนที่เดินผ่านมาแล้วจากไป แต่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้ข้อคิด ทางออก พัฒนาบุคคล ได้ |
|
|
|
ถ้าผมจะเปรียบโค้ชผู้บริหาร หรือโค้ชนักขาย เป็นเสมือนพระธูดงค์ที่เดินทางผ่านมา ให้ทางสว่างแล้วจากไป อาจจะดูเกินเลยไปบ้าง แต่ที่จริงแล้ว โค้ชการบริหาร/การขายในอุดมคติก็ไม่ได้ต่างจากนั้นเลย |
|
|
|
โค้ชที่ดีคือผู้ปิดทองหลังพระให้กับองค์กร แล้วจากไปอย่างมีความสุข |
|
|
|
|
กระบวนการ |
|
บรรยายเต็มรูปแบบ ทำการเทรนหรืออบรมด้วยการบรรยายและกิจกรรม ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่เฉพาะเจาะจง |
|
|
|
การบรรยายย่อตามหัวข้อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรในขณะนั้นๆ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง การบรรยาย 1 ชั่วโมงใช้เมื่อองค์กรต้องการกระตุ้นการทำงานเป็นทีมสร้างขวัญกำลังใจพนักงาน ประสานความขัดแย้ง แก้ปัญหาซึ่งคนในไม่สามารถเป็นผู้พูดเองได้ |
|
|
|
ที่ปรึกษา ดำเนินการในรูปแบบการศึกษาปัญหา สอบถาม พูดคุยกับผู้บริหารและพนักงาน จัดทำรายงานสรุปพร้อมข้อเสนอแนะให้กับบริษัท |
|
|
|
โค้ช สำหรับพนักงานตำแหน่งบริหารที่ขาดทักษะบางด้านเช่น ด้าน Online marketing หรือด้านการบริหารงานบุคคล ซึ่งหากใช้คนในเป็น mentor หรือพี่เลี้ยงก็อาจจะประสบปัญหาไม่มีเวลาหรือเกิดความกระอักกระอ่วนใจได้ การใช้โค้ชจะช่วยทั้งในเรื่องของการมีเวลา ทักษะ ความรู้และผลบวกด้านความรู้สึก |
|
|