กิจกรรม วอล์คแรลลี่ Walk Rally คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรหรือหัวข้อยอดนิยมในการจัดประชุมสัมมนา หรือ จัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้
www.วอล์คแรลลี่.com
การสร้างขวัญ (Morale)
กำลังใจ (Motivation)
|
ในสภาวะการปฏิบัติงานท่ามกลางความกดดันในยุคเศรษฐกิจในปัจจุบัน การแข่งขันทางธุรกิจและการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนั้น มีส่วนทำให้พนักงาน หรือ ผู้ปฎิบัติงานเกิดอาการท้อแท้ หรือ หมดกำลังใจ ในการทำงานลงไปได้ จากการเผชิญการถูกปฎิเสธ หรือ การเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร รวมทั้งการทำงานให้สำเร็จหรือให้ทันตามกำหนด
ความกดดันต่างๆเหล่านี้ อาจทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานหดหายไปได้ นอกเหนือจากแรงกดดันเรื่องานที่ได้รับผลกระทบแล้ว สวัสดิการ และ โอกาสต่างๆ ที่บริษัทหรือองค์กรมอบให้ นั้น ล้วนมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานทั้งสิ้น ซึ่งอาจสร้างขวัญและกำลังใจทางด้านวัตถุ เช่น ผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ และทางตำแหน่งหน้าที่ในรูปของเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการอื่นๆ ฯลฯ หรืออาจจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในการปฎิบัติงาน ของพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น การถูกย้าย การถูกลดเงินเดือน หรือมีการแบ่งแยกพรรคพวกภายในองค์กร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจ เป็นอย่างมาก
อีกลักษณะหนึ่งเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจจากเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง อย่างเช่น การไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน หรือ การแข่งขันเพื่อให้เป็นพนักงานที่ถูกใจใกล้ชิดผู้บริหาร โดยปราศจากผลงาน ฯลฯ
ปัญหาเหล่านี้หากปล่อยไว้อาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่อาจส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรที่ไร้คุณภาพได้ ผู้บริหารองค์กร จึงต้องนำความเข้าใจในเรื่องการสร้างขวัญและกำลังใจ มาใช้ประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน เป็นการปลุกเร้าจิตใจพนักงาน ให้พนักงานมีความรักในองค์กร เพื่อให้พนักงานมีความกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่น และ มีความรักในองค์กร ไม่เฉื่อยชา ทำงานอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์กรมีคุณภาพเพื่อสร้างผลิตผลและบริการที่มีคุณภาพออกมาอีกด้วย
หลักสูตร การสร้างขวัญและกำลังใจนั้น จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญเฉพาะด้านในการนำกระบวนการและเทคนิควิธีการปลุกเร้าต่างๆ มาใช้ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานภายในองค์กรของท่าน
|
|
|
อาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญหลักสูตรนี้ |
|