กิจกรรม วอล์คแรลลี่ Walk Rally คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรหรือหัวข้อยอดนิยมในการจัดประชุมสัมมนา หรือ จัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้
www.วอล์คแรลลี่.com
การเป็นหัวหน้างานหัวหน้าฝ่าย
|
การจะก้าวขึ้นสู่การเป็นหัวหน้างาน หรือหัวหน้าฝ่ายนั้น อาจต้องผ่านความยากลำบากในการทำงานและมีหลายคนที่ได้ก้าวสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน หรือ หัวหน้าฝ่าย อย่างราบรื่น โดยไม่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย อาจเป็นเพราะโอกาส หรือจังหวะ หรือระดับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าด้วยวิธีใดๆ ก็จะต้องพบและเจอเหตุการณ์ และสภาวะ ที่ไม่เคยชิน ในตำแหน่งงานของเป็นหัวหน้างาน หลายคนต้องใช้เวลา โอกาส หลายครั้ง หรืออาจต้องเปลี่ยนงานเพื่อเรียนรู้ ขึ้น โดยเฉพาะที่เข้ารับตำแหน่งได้ไม่นานนั้น มักจะรู้สึกแปลกแตกต่างกับบทบาทหน้าที่ใหม่ อาจจะรู้สึกว่า แผนกอื่น หรือผู้บริหารในระดับที่สูงขึ้นไปจะจ้องจับผิด หรือตำหนิการทำงานอยู่เสมอ หรือหากเป็นการก้าวขึ้นเป็นหัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่ายในองค์กรเดิม อาจมีปัญหาในวางตัวหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะลูกน้องเรานั้น เคยร่วมงานกันในฐานะเพื่อนร่วมงานกันมาก่อนซึ่งอาจมีปัญหาในการจะสั่งงาน หรือ การแนะนำ การตำหนิ อย่างไรถึงจะเข้าใจ ไม่มีปัญหาและได้รับการยอมรับ อีกทั้งอาจมีปัญหาเรื่องความอาวุโสอีกด้วย
บางคนก็คิดไปว่าเราเป็นหัวหน้าแล้ว จะสั่งอะไรได้ทุกอย่าง ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามทันที เพราะเรามีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้างานแล้ว เมื่อสั่งการลงไปทุกคน ทุกฝ่ายต้องยอมรับและปฏิบัติตามโดยทันที
แต่ในความเป็นจริงแล้วการยอมรับนับถือไม่ได้มาจากตำแหน่งหน้าที่เพียงอย่างเดียว อาจต้องมีบารมี หรือการยอมรับ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก บารมีที่ดีนั้น สร้างได้โดยอาศัยอำนาจที่มีให้เป็นประโยชน์
หัวหน้างานส่วนใหญ่มักจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้ที่มีความชำนาญงาน หรือมีอาวุโสในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการยอมรับในขั้นต้น แต่ทักษะในการเป็นหัวหน้า ไม่ได้รับการฝึกฝนหรือไม่สามารถเรียนรู้จากงานในหน้าที่ประจำได้ จึงมักจะไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่เปลี่ยนไป หรือไม่ยอมรับในบทบาทใหม่ จึงเกิดความสับสนว่าจะปฏิบัติงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ หัวหน้างานที่ดีที่ประสบความสำเร็จนั้น อาจต้องมี ทักษะ และความสามารถอีกหลายอย่าง เพิ่มเติมจากความสามารถเดิมที่มีอยู่ในบทบาทหน้าที่เดิม เช่น ต้องมีความสามารถในการสอนงาน ไม่หวงงาน ไว้วางใจในตัวลูกน้อง เพื่อการมอบหมายงานโดยต้องให้เกียรติลูกน้อง และยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากจารทำงาน ให้ลูกน้องได้
หลักสูตร และ เทคนิคการเป็นหัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน นั้น จำเป็นต้องได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ อาจารย์วิทยากรผู้เชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะเรื่องการเป็นหัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
|
|
|
อาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญหลักสูตรนี้ |
|