กิจกรรม วอล์คแรลลี่ Walk Rally คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรหรือหัวข้อยอดนิยมในการจัดประชุมสัมมนา หรือ จัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้
www.วอล์คแรลลี่.com
การปิดการขาย ถือว่าเป็นศิลปะในการขายอีกแขนงหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นมากยิ่งกว่าการเปิดการขายเสียอีก เพราะในบางกรณีนักขายสามารถเปิดการขายได้ในทุกๆสถานการณ์ทุกสถานที่ และเมื่อเปิดการขายไปแล้ว ผู้ที่เป็นเป้าหมายหรือลูกค้าเริ่มรู้สึกมีความสนใจในสินค้าหรือบริการแต่อาจจะเกิดอาการลังเล หรือ ไม่แน่ใจ เกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ โดยทั่วไป มักจะได้ยินการตอบปฎิเสธแบบเลี่ยงๆ จากลูกค้า เช่น ขอไปถามคนที่บ้านก่อน หรือ สนใจนะแต่ติดธุระเดี๋ยวกลับมาซื้อ ฯลฯ
หลายๆครั้ง ผู้ขายเปิดตำรางัดกลยุทธ์การขายออกมาทุกรูปแบบ รวมทั้งการสาธิตสินค้า พาชมสินค้า ด้วยแรงจูงในสารพัดรูปแบบ ในที่สุดลูกค้าก็ออกอาการว่าพร้อมจะซื้อ แต่เกิดอาการลังเลควบคู่กันไป ทั้งๆที่ผู้ขายเองก็ทราบอยู่แล้วว่า ลูกค้ารายนี้มีความต้องการจะซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนแน่นอน แต่อะไรคือปัญหาที่ทำให้ลูกค้าลังเลใจ หรือยังไม่ตอบสนองในการซื้อในทันที
ผู้ขายอาจต้องย้อนดูลักษณะและรูปแบบของการขายที่ตนเองเปิดการขายไป ว่ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ มีการเสนอข้อมูลอย่างถูกต้องตรงไปตรงมาหรือไม่ มีการเสนอผลประโยขน์สูงสุดแก่ลูกค้าแล้วหรือยัง หรือมีการแจ้งรายละเอียดในการชำระเงินโดยละเอียดและรอบคอบทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจในการซื้อสินค้าหรือบริการหรือไม่
สิ่งต่างๆเหล่านี้อาจทำให้นักขายตกม้าตายในขั้นตอนการทำสัญญา หรือขั้นตอนการชำระเงินก็เป็นได้ บางครั้ง สินค้าหรือบริการบางอย่างต้องมีการทำสัญญา ลูกค้าเองก็ยินยอมให้พิมพ์ หรือ เขียนสัญญาได้ แต่ยังไม่ยอมลงนามในสัญญา เป็นเพราะเหตุใด
ผู้ขายจึงต้องวิเคราะห์หาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้ขายเองอาจจะรู้สึกย่ามใจว่าขายได้แน่นอน และเมื่อยุติขั้นตอนการเจรจาเรื่องสินค้าหรือบริการแล้ว แล้ว เข้าสู่กระบวนการจ่ายเงิน หรือทำสัญญา
หากมีการพูดหรือเจรจาบางอย่างเพิ่มเติมหรือมีข้อโต้แย้งอื่นๆ ที่เราละเลยเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในขณะที่ลูกค้ามองเป็นเรื่องใหญ่ นักขายได้มองข้ามสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปหรือไม่
หลักสูตรเทคนิคการปิดการขายต้องเรียนรู้และได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญ ด้านการขายโดยเฉพาะในหลักสูตรการปิดการขาย เพื่อให้องค์กรสามารถผลิตนักขายมืออาชีพและนักขายสามารถนำเมคนิคไปใช้และปิดการขายได้ง่ายขึ้น
|
|
|
อาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญหลักสูตรนี้ |
|