ในอดีตมีน้อยคนที่จะเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า "ซิกซ์ซิกมา” (Six Sigma) จะมีก็เป็นเพียงแค่คนในบางวงการเท่านั้นที่จะรู้และเข้าใจ แต่ปัจจุบันคำๆ นี้กลายเป็นคำที่รู้จักกันมากขึ้น เพราะ เรื่องราวความสำเร็จในการนำซิกซ์ซิกมามาใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในบริษัทโมโตโรล่าที่เป็นผู้ริเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ปี 1979 เพื่อปรับปรุงคุณภาพ โดยพยายามลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดจนประสบความสำเร็จสามารถลดต้นทุนในการผลิต และ ขณะเดียวกันระดับความพึงพอใจของลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น
นอกจากการประสบความสำเร็จที่เกิดขึ้นในบริษัทโมโตโรล่าแล้ว บริษัทเจเนอรัลอิเล็คทริกส์ (General Electric: GE) ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่นำซิกซ์ซิกมาไปใช้ในอุตสาหกรรม และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้ ซิกซ์ ซิกมา (Six Sigma) กลายเป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วไป
บริษัทหลายๆ บริษัท เริ่มที่จะนำกลยุทธ์ซิกซ์ซิกมามาใช้กับบริษัทตนเอง จนปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่าซิกซ์ซิกมาเป็นกลยุทธ์ตัวหนึ่งที่บริษัทหรือบริษัทต่างๆ ทั่วโลกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ กลยุทธ์ซิกซ์ซิกมาจึงถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ระดับโลก (World-class Strategy)
Six Sigma คือ กระบวนการเพือลดความผิดพลาด (Defect) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและมีความสูญเสียได้ไม่เกิน 3.4 หน่วยในล้านหน่วย
หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสูญเสียโอกาสลงให้เหลือเพียงแค่ 3.4 หน่วยนั่นเอง (Defect per Million Opportunities, OPMO) สัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันทางสถิติคือ Sigma ตามความหมายของ Six Sigma ตามสถิติหมายถึงขอบเขตข้อกำหนด (Specification Limit) และการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) ขอบเขตข้อกำหนดบนมีค่าเป็น 6 หมายถึง ที่ระดับ Sigma มีของเสียงเพียง 0.022 ชิ้น จากจำนวนของทั้งหมด 1,000,000 ชิ้น
นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ Six Sigma ภายในองค์การยังช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบปัญหาภายในบริษัทด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้ (Data – Driven Business) แล้วทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยหลักสถิติ (Statistical analysis Process) เพื่อการปรับปรุงและควบุมไม่ให้ปัญหานั้นๆเกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องจากในการแก้ไขปรับปรุงใดๆนั้นต้องอาศัยข้อูลที่ถูกต้องเพียงพอและแม่นยำเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ และแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง
ซิกมา (sigma: ơ) เป็นสัญลักษณ์ในวิชาสถิติที่มีที่มาจากตัวอักษรในภาษากรีก ซึ่งใช้แทนความหมายของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยค่าซิกมายิ่งสูงแสดงว่ามีความแปรปรวนของกระบวนการยิ่งสูง ทำให้มีพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ในการยอมรับหรือในขอบเขต (space) น้อยลง
ข้อมูลจาก Nectec : http://wiki.nectec.or.th/setec/Knowledge/SixSigma
เป้าหมายหลักๆ ของ Six Sigma คือ
สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ามากที่สุด และ ลดขั้นตอนและเวลาในกระบวนการ เพื่อให้เร็วขึ้น ลดข้อบกพร่องและผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุด เพียง 3.4 ครั้งในหนึ่งล้านครั้ง (99.99%)
หลักสูตรการควบคุมคุณภาพ Six Sigma จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์วิทยากรที่ชำนาญและแตกฉาน ในเรื่อง การควบคุมคุณภาพ Six Sigma เป็นอย่างดี เพราะมีกระบวนการในการดำเนินการค่อนข้างซับซ้อน
|