กิจกรรม วอล์คแรลลี่ Walk Rally คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรหรือหัวข้อยอดนิยมในการจัดประชุมสัมมนา หรือ จัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้
www.วอล์คแรลลี่.com
การคิดการใหญ่ หลายๆท่าน อาจมีมุมมองในเรื่องของการคิดการใหญ่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในบางสถานการณ์ บางโอกาส หรือบ่อยครั้ง เราจะได้ยิน เรื่อง"นกน้อยทำรังแต่พอตัว” ซึ่งทำให้มองว่า การคิดการใหญ่เป็นเรื่องการคิดที่เกินตัว เป็นการคิดอย่างเพ้อฝันหรือเป็นการคิดเพียงในจินตนาการเท่านั้น เป็นไปได้น้อยมาก หรืออาจก่อให้เกิดความผิดพลาดหากคิดการใหญ่แล้วลงมือกระทำ ซึ่งบางครั้ง การคิดการใหญ่ ถูกมองในเชิงลบอยู่เสมอๆ แต่มีหลายๆท่านประสบความสำเร็จในชีวิตด้วย ใช้หลักคิดการใหญ่
การคิดการใหญ่นั้น เป็นการตั้งเป้าหมายในชีวิต ในหน้าที่การงาน ให้สูงกว่าที่ควรจะเป็นซึ่งตั้งไว้เป็นเป้าหมายหรือกำหนดเป้าหมาย เป็นสิ่งท้าทายในชีวิต ซึ่งการกำหนดเป้าหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต บางท่านเมื่อตั้งเป้าหมายไว้สูงๆแล้ว มักกลัวความผิดหวัง หรือ พลาดพลั้ง ทำให้ท้อไปเอง
ด้วยความคิดที่ถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตความสามารถของตนเองที่คาดการณ์ไว้ ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ หรือ โอกาสในชีวิตไปได้หลายๆอย่าง เพียงเพราะการกำหนดเป้าหมายหรือการตั้งค่าความรู้สึกให้ต่ำกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การท้าทายความสามารถในการเดิน หรือ วิ่ง โดยกำหนดใว้ในใจหรือตั้งเป้าหมายไว้ 3 กิโลเมตร เมื่อเราตั้งเป้าหมายไว้ ที่ 3 กิโลเมตร ขณะที่กำลังออกเดินหรือวิ่งอยู่นั้น เราจะรู้สึกเพียงแค่ว่า เมื่อไรจะถึง 3 กิโโลเมตรสักที และเมื่อเราวิ่งจนใกล้จะถึงหรือจะครบตามกำหนด 3 กิโลเมตรแล้ว เราจะรู้สึกว่าอ่อนแรง หรือใกล้หมดกำลังลง เพราะ เราได้กำหนดขีดความสามารถของเราไว้ที่ 3 กิโลเมตรเท่านั้น เราได้สั่งหรือกำหนดจิตใจ และร่างกายไว้ที่ 3 กิโลเมตร แต่หากลองใช้แนวทาง คิดการใหญ่ โดยการกำหนดตั้งแต่แรกว่า เราจะวิ่ง 4 กิโลเมตร เชื่อว่า เมื่อวิ่งมาถึง ณ.จุดที่ 3 กิโลเมตร ร่างกายและจิตใจเราจะมีความรู้สึกและพลังที่แตกต่างออกไปยังมีความมุ่งมั่น และ พร้อมที่จะวิ่งต่อไปอีกให้ถึง 4 กิโลเมตร เนื่องมากจากพลังทางจิตใจและร่างกายเรามีความสามารถมากกว่า 3 กิโลเมตร แต่เราได้ไปกำหนดเป้าหมายเพียง 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการกำหนดจุดท้อแท้ของตัวเรานั่นเอง
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายหรือสูงกว่าที่เราต้องการ จะช่วยให้เราพลัง หรือฮึดสู้ มีกำลังแรงส่งมากกว่าการตั้งเป้าที่ต่ำ นอกจากนี้ การตั้งเป้าสูงจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เพราะถึงแม้เราจะไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งสูงไว้ แต่ผลที่ได้อาจจะเท่ากับหรือใก้ลเคียงและสูงกว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้หรือต้องการตั้งแต่แรกได้
การคิดการใหญ่สามารถนำมาปรับเป็นกลยุทธ์ ใช้ในองค์กร ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าการขาย โดยจากการคำณวน จากการดำเนินการตามแผนทางการตลาดแล้ว คาดการณ์ล่วงหน้าไว้ว่าปีนี้ บริษัท องค์กร จะมียอดขาย 1,000,000 บาท ซึ่ง เมื่อนำออกเป็นนโยบาย ควรมีการตั้งเป้าหมายที่สูงกว่าเป็นอย่างยิ่ง หรือนักขายเองเป็นผู้กำหนดเป้าหมายใหม่ให้ตนเองให้สูงกว่า 1,000,000 บาท จะเห็นได้บ่อยๆ จากการทีมีนักขายมือทอง สามารถสร้างยอดขาย ทะลุเป้า เกินเป้า คำว่า ทะลุเป้า นั้น นำมาใช้ได้ และ เป็นตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด ของการคิดการใหญ่
หลักสูตร การคิดการใหญ่ นั้น ต้องได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ อาจารย์วิทยากรผู้เชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะเรื่องการคิดการใหญ่ เพื่อให้การจัดกิจกรรมสัมมนาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
|
|
|
อาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญหลักสูตรนี้ |
|